อาจเป็นที่สังเกตได้ว่า ระยะหลังมานี้วงการศิลปะในบ้านเราได้เริ่มเปิดพื้นที่กว้างให้เหล่าบรรดาศิลปินหน้าใหม่ รวมถึงคนรุ่นใหม่ได้โชว์ศักยภาพในการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบลายเส้นตัวการ์ตูนสุดน่ารักที่ทั้งโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ไม่แพ้ศิลปินนักวาดภาพระดับอินเตอร์เลยทีเดียว หนึ่งในแบรนด์ที่ไม่เอ่ยถึงไม่ได้เลยก็คือ ‘ease around’ แบรนด์ดีไซน์น้องใหม่ที่เติบโตและเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี อะไรคือส่วนสำคัญที่ทำให้ผลงานภาพวาดลายเส้นของพวกเขานั้นฮอตฮิต เป็น One of a Kind Art ที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ครองใจสายอาร์ตได้อย่างมากมาย เราไปร่วมพูดคุยหาคำตอบนี้กับเจ้าตัวพร้อม ๆ กันเลย
จุดกำเนิดการสร้างสรรค์งานศิลปะภายใต้แบรนด์ ease around
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก ease around ผ่านลายเส้นน้อย ๆ สุดน่ารัก ที่ซ่อนความซุกซนเอาไว้ให้ได้อมยิ้มยามที่ได้พบเห็น ซึ่งถ้าเท้าความถึงที่มาที่ไปของแบรนด์นี้ ease around เริ่มต้นมาจากการที่ ป้อ-ชัยวัฒน์ อุทัยกรณ์ และ ตาล-วริษฐา จงสวัสดิ์ สองหนุ่มสาวเจ้าของแบรนด์ เกิดความคิดที่อยากจะดีไซน์งานอาร์ตผ่านสินค้าไลฟ์สไตล์ เพื่อที่ทุกคนจะได้มีไอเท็มชิค ๆ ไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน
ช่วงที่เริ่มสร้างแบรนด์ ทั้งคู่ยังคงทำงานประจำกันอยู่ โดยที่ป้อและตาลทำงานบริษัทนิตยสารแห่งเดียวกัน ตาลทำงานฝั่งโฆษณา ส่วนป้อทำงานฝั่งเว็บมาสเตอร์ แต่พอได้มีโอกาสคลุกคลี คุยงานกับทางฝ่ายอาร์ตมากขึ้น ก็เกิดเป็นความชอบส่วนตัว เรียนรู้งานอาร์ตผ่านรูปแบบครูพักลักจำ ก่อนจะจับพลัดจับผลูมาลองออกแบบลายเส้นเป็นแบรนด์ของตัวเอง
ชื่อแบรนด์ ‘ease around’ มีที่มาจากคำว่า ‘ease’ เป็น Verb ที่สื่อถึงความรู้สึกที่สบาย ความปล่อยตัว ไม่ตึงเครียด บวกกับคำว่า ‘around’ ที่มาใส่ต่อท้าย เพื่อสื่อถึงความต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตรงกับความสนใจของป้อที่อยากลองทำสิ่งใหม่อยู่เรื่อย ๆ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นภาพวาดลายเส้นแบบเดียว บน material เดียว เล่าเรื่องผ่านคอนเซ็ปต์เดียว หรือให้ความรู้สึกแบบเดียวเท่านั้น ‘ease around’ จะนำพาไปลองทำงานหลาย ๆ แบบ ที่สร้างความสุขความสบายใจให้กับทั้งตัวศิลปินและคนที่ติดตามผลงานของแบรนด์
ease around เริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงปลายปี 2560 โดยภาพวาดชุดแรก ๆ ถูกดีไซน์ออกมาเป็นปฏิทินต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข รวมถึงภาพวาดชุด ‘My Favorite Ordinary’ ที่เป็นการเล่าเรื่องวันธรรมดา ๆ ของคนสองคนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ก่อนจะส่งผลงานไปตามร้านฝากขายต่าง ๆ เมื่อมีคนเห็นผลงานมากขึ้น ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก ทำให้มีคนติดตามผ่าน IG เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนจะปล่อยภาพวาดออกมาทีละชุด กลายมาเป็น ease around จนถึงทุกวันนี้
ลายเส้นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็น ease around
ถ้ามองในมุมของลูกค้าที่สนับสนุนผลงานของแบรนด์ ความแตกต่างจะอยู่ที่การครีเอตลายเส้นน้อย ๆ ใช้สีสันไม่เยอะ เพราะด้วยความที่ป้อไม่ได้เรียนจบด้านศิลปะมาโดยตรง เพราะฉะนั้นเรื่องของ composition หรือเทคนิคต่าง ๆ จึงไม่ค่อยหวือหวา ดีไซน์ผลงานออกมาตามความถนัด ลายเส้นน้อย ๆ ที่ว่านี้ จึงกลายมาเป็นลายเส้นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ ease around ไปโดยปริยาย
ส่วนถ้าเป็นมุมมองทางฝั่งของแบรนด์เอง ease around จะมีความเป็น humour อยู่ในชิ้นงานด้วย เป็นการใส่ความตลกขบขันลงไปในคาแร็กเตอร์ของตัวการ์ตูนให้เป็นที่จดจำ อย่างเวลาที่นึกถึง ease around ก็อยากให้ทุกคนนึกถึงคาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนผู้หญิง ความเป็น humour ที่สอดแทรกลงไปในภาพวาด จะแสดงถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ อย่างงานนิทรรศการเล็ก ๆ ‘If it rained on that day’ ที่จัดขึ้นที่ร้าน Ponder & Paste เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับฝน แต่ถ้าสังเกตดูดี ๆ แล้ว แต่ละภาพจะยังคงคาแร็กเตอร์ของตัวละครต้นฉบับเอาไว้และใส่ความตลกในแบบ ease around ลงไปด้วย
แรงบันดาลใจจากสิ่งเล็ก ๆ รอบตัว
แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานส่วนใหญ่มาจากภาพยนตร์และบทเพลงชื่อดัง ที่คิดว่าหลาย ๆ คนก็น่าจะชอบเหมือนกัน อย่างงานภาพวาด ‘Love Still’ ชุดภาพยนตร์ที่เลือกจบแบบไม่ Happy Ending เพราะรู้สึกว่าคนดูน่าจะเก็ทและอินกับความเศร้าด้วยมุมมองที่ไม่สมหวังมากกว่า ทางแบรนด์เองเชื่อว่าสิ่งที่ถ่ายทอดมาจากภาพยนตร์หรือบทเพลงเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่อยู่แล้วด้วย ก็น่าจะโดนใจใครต่อใครไม่ยาก นอกจากนี้ แรงบันดาลใจในการครีเอตผลงานยังมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เป็น ‘Little Joy’ เรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว ที่หลายคนอาจมองข้ามไป ก็สามารถพัฒนามาเป็นชิ้นงานได้ ในมุมมองที่สร้างความสุขและความอบอุ่นให้กับทุกคน
ease around กับผลงานและหลากหลายเรื่องราวที่ภูมิใจนำเสนอ
หลังจากมีการพัฒนาลายเส้นเรื่อยมา ผลงานที่ชอบที่สุด เป็นผลงานเซ็ตภาพวาดชิ้นล่าสุด คอลเลกชันโปสการ์ดที่ชื่อว่า ‘while we wait’ ซึ่งเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการรอคอยอะไรบางอย่าง ซึ่งอาการระหว่างที่รอว่าฉันจะทำอะไรดี อาการที่ไม่เป็นอันทำอะไร ค่อนข้างเรียลลิตี้ที่สุดและมีความเป็น ease around ที่สุด เพราะมีความเป็น humour แบบเต็ม ๆ และใช้สีสันมากขึ้น ส่วนชิ้นงานที่ท้าทายความสามารถ ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างทำ เป็นลักษณะการเล่นเทคนิคกับงานพรินต์พลาสติกใสที่เมื่อนำมาซ้อนกันก็จะเกิดอีกภาพหนึ่ง ความยากจะอยู่ที่เราจะออกแบบการซ้อนยังไงให้ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด วางแผนไว้ว่าน่าจะเสร็จในช่วงปลายปีนี้
ส่วนในอนาคต พยายามจะดีไซน์สินค้าที่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีฟังก์ชันการใช้งานเยอะ ๆ รวมถึงผลงานภาพวาดลายเส้น ทางแบรนด์อยากใส่คาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนในมุมที่โตขึ้น พอทำแบรนด์มาสักพัก ก็อยากให้คนที่สนับสนุนแบรนด์ ติดตามแบรนด์มาตั้งแต่แรก ๆ ได้เติบโตไปพร้อมกัน ด้วยการใส่ไอเดียใหม่ ๆ นำเสนอมุมมองช่วงกึ่งกลางระหว่างความเป็น Mid-Life ให้แฟน ๆ ease around รู้สึกว่าเขาค่อย ๆ เติบโตมากับแบรนด์จริง ๆ ส่วนชิ้นงานอื่น ๆ ที่อยากลอง คืออยากทำงานปั้น ฟิกเกอร์ตัวเล็ก ๆ อย่างกาชาปอง อยากดึงคาแร็กเตอร์ของ ease around ออกมาเป็นรูปแบบ 3D คิดว่าก็น่ารักดีเหมือนกัน
แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบไร้ขีดจำกัด
โดยส่วนตัว ทางแบรนด์มองว่าศิลปะไม่จำเป็นจะต้องอยู่แต่ใน Art Gallery หรือในที่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ถ้าเราแตกไลน์คำว่า Art หรือศิลปะออกมา ผ่านมุมมองของเนื้องาน ผลงานศิลปะที่ดีควรสามารถประยุกต์กับทุกสิ่งอย่างที่ทำให้สิ่งนั้นมีคุณค่ามากขึ้นได้ด้วย เช่น สามารถประยุกต์จัดกิจกรรมพิเศษ อย่างการครีเอตงานศิลปะผ่านรูปแบบอื่น ๆ หรือ material อื่น ๆ แม้กระทั่งบนเครื่องดื่มอย่างลาเต้อาร์ต ฟองเบียร์ ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจเช่นกัน มีความเป็นไปได้ในแง่ที่ทั้งเจ้าของผลงานศิลปะและคนที่เสพงานอาร์ตจะได้เห็นงานศิลปะแบบใหม่ ๆ ไอเดียใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากเดิม เพิ่มสัมผัสที่เป็นมากกว่าการชมด้วยตา เพราะงานศิลปะถ้านำไปประกอบกับอะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ดูน่าสนใจมากขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มมูลค่าให้กับงานชิ้นนั้น ๆ ไปในตัวด้วย หรือถ้าภาพวาดลายเส้นต่าง ๆ ไปอยู่ในรูปแบบที่ต่างออกไปก็น่าจะทำให้งานศิลปะมีเสน่ห์มากขึ้น
One of a Kind สไตล์ ease around
น่าจะเป็นเรื่องของการสร้างคาแร็กเตอร์งานศิลปะลายเส้นในแบบที่ ease around ตั้งใจครีเอตออกมา เพราะรู้สึกว่าถ้าจะมีสิ่งไหนที่โดดเด่นขึ้นมาจากแบรนด์อื่น ๆ ได้ ก็คงเป็นเรื่องของปัจเจก ตัวตนของเรานี่แหละ ทั้งในแง่ของตัวศิลปินเองและคาแร็กเตอร์ของผลงานด้วย สิ่งนี้จะไม่มีทางซ้ำคนอื่นแน่ ๆ และเป็นสิ่งที่พร้อมจะชูจุดเด่น ความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ตามที่ตั้งใจนำเสนอออกไป
จากบทสัมภาษณ์ทั้งหมดทั้งมวล หลากหลายเรื่องราวที่ทางเจ้าของแบรนด์ ease around ได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์การครีเอตผลงานศิลปะแบบไร้ซึ่งข้อจำกัด ให้ผู้อ่านได้รับแรงบันดาลใจดี ๆ ที่นำไปสู่มุมมองการสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบใหม่ ผ่านกิจกรรมที่จะมาสร้างความเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ที่รักงานอาร์ตได้อย่างแน่นอน และแคมเปญอีเวนต์ที่ว่านี้ก็คือ "What a Sur-Pint!" แคมเปญอีเวนต์สุดอาร์ตจาก Hoegaarden ที่เปิดโอกาสให้คุณได้ครีเอตผลงานศิลปะหรือข้อความเท่ ๆ ในแบบฉบับของตัวเองลงบนฟองเบียร์ เพื่อสื่อสารถึงกันอย่างสร้างสรรค์
สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดความ Exclusive แบบนี้ สามารถเข้าร่วม One of a Kind Art Competition แคมเปญประกวดออกแบบศิลปะบนฟองเบียร์สไตล์คุณ ทาง www.whatasurpint.com ร่วมครีเอตชิ้นงานที่บ่งบอกถึงความเป็น One of a Kind Art งานอาร์ตในแบบฉบับของคุณ กับคอนเซ็ปต์ 'A Surprise on Your Pint' เพื่อลุ้นคัดเลือกเป็นหนึ่งในภาพที่ได้จัดแสดงและได้เข้าร่วมไปสัมผัสความเซอร์ไพรส์ในงาน รวมถึงลุ้นรางวัลชนะเลิศอีก 1 ต่อ เป็นตั๋วเครื่องบินไปเสพงานอาร์ตที่สิงคโปร์
แคมเปญอีเวนต์สุดอาร์ตที่จะมาสร้างความเซอร์ไพรส์ในครั้งนี้จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ณ Number 1 Gallery และนอกจากศิลปะบนฟองเบียร์ที่จะได้ร่วมครีเอตด้วยตัวคุณเองแล้ว งานนี้ยังมีอาร์ติสเจนฯ ใหม่มากความสามารถ อย่าง Gongkan และ Sundae Kids มาร่วมพูดคุยและครีเอตลวดลายสุด Exclusive โดยเฉพาะ
พร้อมร่วมปลดปล่อยความอาร์ตในตัวคุณกับหลากหลายกิจกรรม อาทิ เวิร์กช็อป Calligraphy โดยทีม Calligraphy มืออาชีพอย่าง Infinite Paper Lab, เพลิดเพลินกับการเสพงานศิลปะในโซน One of a Kind Art Exhibition เคล้าเพลย์ลิสต์เท่ ๆ จาก DJ Praewapower หรือแพรวาจากวง Yellow Fang และสนุกกับการถ่ายรูปกับมุมสุดชิคภายในงานที่จะทำให้คุณได้ภาพเก๋ ๆ โพสท์ลงโซเชียลได้แบบไม่ซ้ำใคร
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ www.facebook.com/Hoegaarden.asia และ www.whatasurpint.com, IG Hoegaarden.asia และ www.whatasurpint.com
#WhataSurPint #Hoegaarden